วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักความเชื่อทั่วไป 2)เพื่อศึกษาหลักกาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าหลักกาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท เพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อทั่วไป คือ ความเชื่อทางธรรมชาติ เทพเทวา วิญาณ คำสอนทางศาสนา ไสยศาสตร์ ลักษณะความเชื่อเกิดจากความสงสัย ความกลัว การสืบทอดอำนาจ และหวังโชคลาภสักการะ ความเชื่อสังคมไทยปัจจุบัน เชื่อในประเพณี วัฒนธรรม และโลกโซเซียล กาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท คือหลักธรรมคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักใช้เหตุผลและปัญญา ก่อนตัดสินปลงใจเชื่อ มี 10 ประการ คือ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าได้ฟังตามกันมา อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าถือปฏิบัติสืบทอดกันมา อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าเป็นข่าวลือ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่ามาจากตำราหรือคัมภีร์ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าตรงกับหลักตรรกะ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าตรงกับหลักอนุมาน อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าตรึกตรองเอาตามอาการที่ปรากฏ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าสิ่งนั้นเข้ากันได้กับความคิดเห็นหรือทฤษฎีของตน อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าผู้พูดดูน่าเชื่อถือ และอย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าสมณะผู้นี้เป็นครูเรา คุณค่าหลักกาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท 1) การใช้ปัญญามากกว่าศรัทธา คือ ความเชื่อศรัทธาแบบดั่งเดิมปฏิบัติกันมา จนชินกลายเป็นประเพณี วัฒนธรรม และแบบแผน อาจเป็นความเชื่อที่งมงาย กาลามสูตรเน้นสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาตัดสินความถูกต้องเสียก่อนจึงค่อยเชื่อ 2) การปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี คือ การศึกษาเรียนรู้ เป็นเพียงอวิชชา ไม่อาจรู้จริง กาลามสูตรสอนให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงเสียก่อนจึงค่อยเชื่อ 3) การพึงพาตนเองมากกว่าพึงคนอื่น คือ การอาศัยสิ่งอื่นที่คิดว่าดลบันดาลให้เกิดความสุขและความทุกข์ เช่น เชื่อในเทพเจ้าสูงสุด ผีเรือน ผีบ้าน พระภูมิ กาลามสูตรจึงสอนให้พึงตนเองโดยการปฏิบัติตนเองจนให้รู้แจ้งเห็นจริง 4) การเชื่อในกฎแห่งกรรมมากกว่าพิธีกรรม คือ การเชื่อเรื่องเทพเทวา ไสยศาสตร์ อำนาจลึกลับ จนกลายเป็นพิธีกรรม กาลามสูตรจึงสอนให้เชื่อในเรื่องกรรม คือ การกระทำ ทางกาย วาจาและใจ เชื่อว่าผลของกรรม เชื่อว่ากรรมที่บุคคลกระทำแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมก่อให้เกิดผลตามสมควรแก่เหตุเสมอ และเชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน และ5) การใช้ปัญญามากกว่าเชื่อโลก Social Network การส่งและรับสารระหว่างผู้ส่งกับผู้รับได้ ทำให้มีการเข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง จนกลายเป็นสังคมฐานความเชื่อ กาลามสูตรสอนให้ใช้เหตุผลก่อน โดยใช้ปัญญาตรวจสอบค้นคว้าข้อมูลหาคำตอบให้แน่ชัด โดยไม่ควรเชื่อปราศจากข้อมูลที่เป็นจริง ดังนั้น หลักกาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วค่อยเชื่อ ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อหรือไม่เพียงไร
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักความเชื่อทั่วไป 2)เพื่อศึกษาหลักกาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าหลักกาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท เพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อทั่วไป คือ ความเชื่อทางธรรมชาติ เทพเทวา วิญาณ คำสอนทางศาสนา ไสยศาสตร์ ลักษณะความเชื่อเกิดจากความสงสัย ความกลัว การสืบทอดอำนาจ และหวังโชคลาภสักการะ ความเชื่อสังคมไทยปัจจุบัน เชื่อในประเพณี วัฒนธรรม และโลกโซเซียล กาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท คือหลักธรรมคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักใช้เหตุผลและปัญญา ก่อนตัดสินปลงใจเชื่อ มี 10 ประการ คือ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าได้ฟังตามกันมา อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าถือปฏิบัติสืบทอดกันมา อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าเป็นข่าวลือ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่ามาจากตำราหรือคัมภีร์ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าตรงกับหลักตรรกะ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าตรงกับหลักอนุมาน อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าตรึกตรองเอาตามอาการที่ปรากฏ อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าสิ่งนั้นเข้ากันได้กับความคิดเห็นหรือทฤษฎีของตน อย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าผู้พูดดูน่าเชื่อถือ และอย่าพึ่งเชื่อเพราะอ้างว่าสมณะผู้นี้เป็นครูเรา คุณค่าหลักกาลามสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท 1) การใช้ปัญญามากกว่าศรัทธา คือ ความเชื่อศรัทธาแบบดั่งเดิมปฏิบัติกันมา จนชินกลายเป็นประเพณี วัฒนธรรม และแบบแผน อาจเป็นความเชื่อที่งมงาย กาลามสูตรเน้นสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาตัดสินความถูกต้องเสียก่อนจึงค่อยเชื่อ 2) การปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี คือ การศึกษาเรียนรู้ เป็นเพียงอวิชชา ไม่อาจรู้จริง กาลามสูตรสอนให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงเสียก่อนจึงค่อยเชื่อ 3) การพึงพาตนเองมากกว่าพึงคนอื่น คือ การอาศัยสิ่งอื่นที่คิดว่าดลบันดาลให้เกิดความสุขและความทุกข์ เช่น เชื่อในเทพเจ้าสูงสุด ผีเรือน ผีบ้าน พระภูมิ กาลามสูตรจึงสอนให้พึงตนเองโดยการปฏิบัติตนเองจนให้รู้แจ้งเห็นจริง 4) การเชื่อในกฎแห่งกรรมมากกว่าพิธีกรรม คือ การเชื่อเรื่องเทพเทวา ไสยศาสตร์ อำนาจลึกลับ จนกลายเป็นพิธีกรรม กาลามสูตรจึงสอนให้เชื่อในเรื่องกรรม คือ การกระทำ ทางกาย วาจาและใจ เชื่อว่าผลของกรรม เชื่อว่ากรรมที่บุคคลกระทำแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมก่อให้เกิดผลตามสมควรแก่เหตุเสมอ และเชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน และ5) การใช้ปัญญามากกว่าเชื่อโลก Social Network การส่งและรับสารระหว่างผู้ส่งกับผู้รับได้ ทำให้มีการเข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง จนกลายเป็นสังคมฐานความเชื่อ กาลามสูตรสอนให้ใช้เหตุผลก่อน โดยใช้ปัญญาตรวจสอบค้นคว้าข้อมูลหาคำตอบให้แน่ชัด โดยไม่ควรเชื่อปราศจากข้อมูลที่เป็นจริง ดังนั้น หลักกาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วค่อยเชื่อ ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อหรือไม่เพียงไร
The thesis served the purposes: 1) to study beliefs in general, 2) to pursue the rule of beliefs in Kalama Sutta of Theravada Buddhist philosophy, 3) to analyze values of the rule of beliefs in it for applying in the current Thai society. Results of the research have found the following findings: Beliefs in general embrace those in natural phenomena, gods and deities, souls, religious teachings, and superstitions; such beliefs arise out of doubts, frights, transmission of powers, hopes of pitfalls and free offerings, conditions of current Thai societies, traditions, cultures, and social media. The case in point for dealing with beliefs in Kalama Sutta of Theravada Buddhist philosophy refers to the Buddha’s own teachings; he intentionally teaches his disciples how to contemplate using their logical solutions and wisdom prior to making their decisions on firm beliefs. The rule of beliefs in Kalama Sutta is comprised of ten headings that: “Do not be led by 1) reports, 2) traditions, 3) hearsays, 4) the authority of the texts, 5) mere logics, 6) inference, 7) appearance, 8) responding to their own ideas and theories, 9) reliability, 10) the idea of being one’s own teachers. The values of beliefs in Kalama Sutta of Theravada Buddhist philosophy have been found that: 1) The use of ones’ faiths rather than wisdom, i.e. individuals cling to their original faiths from one generation to another until they are accustomed to such faiths to the greatest extent that their faiths become their traditions, cultures, and formats, which in fact their original faiths may be blind ones. That is why Kalama Sutta puts the emphasis on teaching Buddhists to use their wisdom to judge advantages or disadvantages prior to making decisions on their firm beliefs. 2) The use of practices rather than theories, i.e. learning is merely ignorant, learners may superficially know. Hence, it teaches practices to realize the facts prior to jumping into firm beliefs. 3) Reliance on oneself rather than others, i.e. they solely depend on what they think that other things are destined to bring about bliss and suffering to them, e.g. they believe in supreme gods, household spirits, village spirits, and premises guardian spirits. Thus, it teaches individuals to rely on themselves by practices so much so that they have realized what they really are. 4) Beliefs in law of karma rather than rites and ceremonies, i.e., they firmly believe in gods and deities, superstitions, mysterious powers so much that the latter have become their rites and ceremonies. As a result, it teaches individuals to believe in past karmas (actions), i.e. physical, verbal and mental actions; either good or bad ones they have done will always yield results conducive to the causes. In addition, individuals have to believe that they have karma of their own. 5) The use of wisdom rather than social networks, that is, messages between senders and receivers that are sent and received through social networks prompt both positive and negative understandings that the messages have become the belief-based society. As a consequence, it teaches individuals to find out reasons beforehand by using their wisdom to check data and surf them to gain correct answers, not merely believing all the information with fake data. Therefore, the whole rule of beliefs in Kalamasutta is instrumental in taking messages into proper consideration before making one’s own decisions on believing them. In having done so, it is suitable for individuals to be regarded as ‘Buddhists’. In other words, they must not believe any message without a reliable reason prior to taking the message into proper consideration whether or not it ought to believe and how it ought to do.