Search results

33,125 results in 0.08s

หนังสือ

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • คราวประสุต
  • คราวเป็นพระทารก
  • คราวเป็นพระกุมาร
  • คราวเป็นพระดรุณ
  • คราวทรงพระเจริญ
  • สมัยทรงผนวชพระ
  • สมัยทรงรับสมณศักดิ์
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ดัง เพื่อศึกษาปรากฎการณ์หลักของโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนธรรมวิถี จากมุมมองของคนที่อยู่ในปรากฏการณ์ว่ามีลักษณะอย่างไร มีสาเหตุหรือมีปัจจัยจากอะไร เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ ที่โรงเรียนธรรมวิถี ได้นำมาใช้จนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้ว่ามียุทธศาสตร์อะไรบ้าง โดยมีเงื่อนไขเชิงบริบทเฉพาะ และเงื่อนไขสอดแทรกทั่วไป ที่มีผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์เหล่านั้น เพื่อศึกษาผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการใช้ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนธรรมวิถีได้เลือกนำมาใช้จนทำให้เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดี ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีหลายประเด็น ได้แก่ แนวทางการเริ่มต้นโรงเรียนวิถีพุทธ ทราบสาเหตุหรือมีปัจจัยสภาพปัญหาของสังคมเด็กขาดเรียน ปัญหาเด็กที่มาเรียนแต่ไม่ยอมเข้าแถว ปัญหาเด็กไม่ค่อยฟังพ่อแม่ ปัญหาของเด็กในสภาพลูกเทวดา ปัญหาที่เด็กชอบแข่งจักรยานยนต์ หนีเที่ยวไม่ยอมเข้าเรียน โรงเรียนพยายามสร้างความตระหนักให้กับคุณครู ต่อสภาพปัญหาเหล่านี้เด็กของเราจะสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือไม่ ในเมื่อเราเป็นคุณครูจุดประสงค์หลักของเราก็คือต้องหาวิธีการที่จะสร้างความมีคุณธรรมจริยธรรมติดตัวนักเรียนออกไปสู่สังคมเพราะตัวนักเรียนคือผลิตผลของหน่วยงานเราหรือของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนได้นำมาใช้ดำเนินการในเรื่องนี้ปรับได้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน สำหรับแนวคิดเบื้องต้น ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ด้านกายภาพ โรงเรียนจะจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา ได้แก่ มีศาลาพระพุทธรูป เด่นเหมาะสม ที่จะชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยอยู่เสมอ มีมุมหรือห้องให้ศึกษาพุทธธรรม บริหารจิต เจริญภาวนาเหมาะสมหรือมากพอที่จะบริการผู้เรียน หรือการตกแต่งบริเวณให้เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบ และส่งเสริมปัญญา ได้แก่ ร่มรื่น มีป้ายนิเทศ ป้ายคุณธรรม ดูแลเสียงต่าง ๆ ไม่ให้อึกทึก ถ้าเปิดเพลงกระจายเสียงก็พิถีพิถันเลือกเพลงที่ส่งเสริมสมาธิ ประเทืองปัญญา เป็นต้น 2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต สถานศึกษาจัดกิจกรรมวิถีชีวิต ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือในโอกาสต่าง ๆ เป็นภาพรวมทั้งสถานศึกษา ที่เป็นการปฏิบัติบูรณาการทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเน้นการมีวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรมของการกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดำเนินชีวิต 3. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่เรียนรู้ และพัฒนาไตรสิกขา หรือส่งเสริมการมีวัฒนธรรม แสวงปัญญา และมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งครูต่อนักเรียน นักเรียนต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อครูด้วยกัน และโรงเรียนส่งเสริมให้บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เช่น การลด ละ เลิกอบายมุขการเสียสละ เป็นต้น 4.
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ดัง เพื่อศึกษาปรากฎการณ์หลักของโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนธรรมวิถี จากมุมมองของคนที่อยู่ในปรากฏการณ์ว่ามีลักษณะอย่างไร มีสาเหตุหรือมีปัจจัยจากอะไร เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ ที่โรงเรียนธรรมวิถี ได้นำมาใช้จนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้ว่ามียุทธศาสตร์อะไรบ้าง โดยมีเงื่อนไขเชิงบริบทเฉพาะ และเงื่อนไขสอดแทรกทั่วไป ที่มีผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์เหล่านั้น เพื่อศึกษาผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการใช้ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนธรรมวิถีได้เลือกนำมาใช้จนทำให้เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดี ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีหลายประเด็น ได้แก่ แนวทางการเริ่มต้นโรงเรียนวิถีพุทธ ทราบสาเหตุหรือมีปัจจัยสภาพปัญหาของสังคมเด็กขาดเรียน ปัญหาเด็กที่มาเรียนแต่ไม่ยอมเข้าแถว ปัญหาเด็กไม่ค่อยฟังพ่อแม่ ปัญหาของเด็กในสภาพลูกเทวดา ปัญหาที่เด็กชอบแข่งจักรยานยนต์ หนีเที่ยวไม่ยอมเข้าเรียน โรงเรียนพยายามสร้างความตระหนักให้กับคุณครู ต่อสภาพปัญหาเหล่านี้เด็กของเราจะสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือไม่ ในเมื่อเราเป็นคุณครูจุดประสงค์หลักของเราก็คือต้องหาวิธีการที่จะสร้างความมีคุณธรรมจริยธรรมติดตัวนักเรียนออกไปสู่สังคมเพราะตัวนักเรียนคือผลิตผลของหน่วยงานเราหรือของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนได้นำมาใช้ดำเนินการในเรื่องนี้ปรับได้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน สำหรับแนวคิดเบื้องต้น ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ด้านกายภาพ โรงเรียนจะจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา ได้แก่ มีศาลาพระพุทธรูป เด่นเหมาะสม ที่จะชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยอยู่เสมอ มีมุมหรือห้องให้ศึกษาพุทธธรรม บริหารจิต เจริญภาวนาเหมาะสมหรือมากพอที่จะบริการผู้เรียน หรือการตกแต่งบริเวณให้เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบ และส่งเสริมปัญญา ได้แก่ ร่มรื่น มีป้ายนิเทศ ป้ายคุณธรรม ดูแลเสียงต่าง ๆ ไม่ให้อึกทึก ถ้าเปิดเพลงกระจายเสียงก็พิถีพิถันเลือกเพลงที่ส่งเสริมสมาธิ ประเทืองปัญญา เป็นต้น 2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต สถานศึกษาจัดกิจกรรมวิถีชีวิต ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือในโอกาสต่าง ๆ เป็นภาพรวมทั้งสถานศึกษา ที่เป็นการปฏิบัติบูรณาการทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเน้นการมีวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรมของการกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดำเนินชีวิต 3. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่เรียนรู้ และพัฒนาไตรสิกขา หรือส่งเสริมการมีวัฒนธรรม แสวงปัญญา และมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งครูต่อนักเรียน นักเรียนต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อครูด้วยกัน และโรงเรียนส่งเสริมให้บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เช่น การลด ละ เลิกอบายมุขการเสียสละ เป็นต้น 4.
ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยบุคลากรในสถานศึกษา ร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชน สร้างความตระหนักและศรัทธา รวมทั้งเสริมสร้างปัญญาเข้าใจในหลักการและวิธีดำเนินการโรงเรียนวิถีพุทธร่วมกัน ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพยายามสนับสนุน และการปฏิบัติตนเอง ที่จะสนับสนุนและเป็นตัวอย่างในการพัฒนาผู้เรียน ตามวิถีชาวพุทธ สถานศึกษาวิเคราะห์จัดจุดเน้น หรือรูปแบบรายละเอียดโรงเรียนวิถีพุทธ ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนวิถีพุทธได้ปรับใช้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะให้นักเรียนเป็นคนดีในสังคม หลังจากจบจากโรงเรียนไป ผลพลอยได้ทำให้บุคลากร ครู ผู้บริหารมีหลักธรรมและนำวิถีพุทธ/วิถีธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันและงานที่รับผิดชอบ ส่วนนักเรียนเป็นผู้มีความอ่อนน้อม แยกความดีความชั่วอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักเสียสละ มีน้ำใจช่วยเหลือตนเองและส่วนรวม สังคมและโรงเรียนที่เราอาศัยอยู่จะได้มีการพัฒนาทั้งระบบ ครอบครัว ชุมชน สังคมขนาดใหญ่ ผลสืบเนื่องที่เกิดจากการใช้ยุทธศาสตร์โรงเรียนวิถีพุทธเกี่ยวกับด้านโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีคุณภาพและมาตรฐาน ความภาคภูมิใจในงาน และการยอมรับจากภายนอกและด้านชุมชน ได้แก่ การขยายจิตสํานึกโรงเรียนวิถีพุทธ
The objectives of this research were as follows: to study the main phenomenon of the Buddhist school as a good example of the Dhammawithi School from the point of view of the person in the phenomenon, what does it look like? What are the causes or what are the factors, to study strategies Dhammavithi School has been using to be a good example of Buddhist school as well as specific contextual conditions and general interpolation conditions that affect the choice of those strategies, and to study the sequel resulting of applying strategies that Dhammavithi School has chosen. The results showed that Characteristics of being a good model of Buddhist school include many issues, for example, the way to start a Buddhist school, acknowledging the cause or factors of the problematic conditions of the present society. School is trying to raise awareness among teachers about problems of students and students will be able to survive or not. Being a teacher, the core job is to build moral ethics within the students because they are future of our society. The strategies adopted by the school in this regard can be adapted according to the guidelines of the Four Principles of Wisdom as follows: 1. Physical: the school will arrange buildings, premises, environments, classrooms, and learning centers that promote the development of morality, concentration and wisdom, such as having a pavilion of outstanding Buddha images that will always remind students of the Triple Gem. There is a corner or room for studying the Buddha Dharma, mental management, and meditation appropriate or enough to serve the learners. or decorate the area to be natural or close to nature. 2. Basic activities of life style: educational institutions organize daily or weekly lifestyle activities on various occasions. It is an integrated practice of morality, concentration, and wisdom, emphasizing on the way of life. 3. Atmosphere and interaction: educational institutions promote an atmosphere of learning and develop the triad or promote cultural, intellectual pursuit and friendly interactions. There is an atmosphere of respect and humility. 4. School management: educational personnel together with parents and the community raise awareness and faith as well as enhance wisdom and understand principles and methods of administrating Buddhist schools together. The terms affecting the choice of those strategies adapting the Four Principles of Wisdom enhance learners’ development along with Trisikha. Students tend to be a good citizen and behave well after graduating from school. All educational personnel should apply the principle in their daily life as well. This will create affect the school and society. Consequences arising from the implementation of the Buddhist school strategy concerning schools are: schools have quality and standards. pride in work and acceptance from outside and from the community, such as expanding awareness of Buddhist schools
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าเอฟเทส (F-Test) แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการวิเคราะห์เป็นรายคู่ โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD ผลการวิจัย พบว่า : 1) ระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานแนะแนว รองลงมา คือ ด้านงานกิจกรรมนักเรียน ด้านงานปกครองนักเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงานบริการให้แก่นักเรียน 2) การเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 พบว่า ควรใส่ใจทุ่มเทมากๆ มีเมตตา ใช้ความสุข ความเมตตาต่อเด็กนักเรียน ทำด้วยความเต็มใจและเท่าเทียม ดูแลนักเรียนโดยอิงกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ควรได้รับ จัดหลักสูตรการแนะแนวที่ตรงกับวัยของนักเรียน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าเอฟเทส (F-Test) แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการวิเคราะห์เป็นรายคู่ โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD ผลการวิจัย พบว่า : 1) ระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานแนะแนว รองลงมา คือ ด้านงานกิจกรรมนักเรียน ด้านงานปกครองนักเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงานบริการให้แก่นักเรียน 2) การเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 พบว่า ควรใส่ใจทุ่มเทมากๆ มีเมตตา ใช้ความสุข ความเมตตาต่อเด็กนักเรียน ทำด้วยความเต็มใจและเท่าเทียม ดูแลนักเรียนโดยอิงกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ควรได้รับ จัดหลักสูตรการแนะแนวที่ตรงกับวัยของนักเรียน
The objectives of the research were 1) to study the student affairs management based on the Four Sublime States of Mind (Brahmavihara) of schools under the Burirum Primary Educational Service Area Office 3, 2) to compare the opinions about the student affairs management based on Four Sublime States of Mind of the said schools, classified by position, educational background, work experience and school size and 3) to compile the related recommendations and guidelines suggested by the responses. The samples were 341 of school directors, teachers, or educational personnel of the schools in mention. The tool used was a 5-scale rating questionnaire with content accuracy of 0.67-1.00, and its reliability was .90. The statistics used for the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-Test (One-way ANOVA), in case of differences in mean, will be analyzed in pairs by the LSD multiple comparison method. The research results were as follows: 1) The student affairs management based on the Four Sublime States of Mind (Brahmavihara) of schools under the Burirum Primary Educational Service Area Office 3 was found, in an overall aspect, to be at a “MUCH” level. As for an individual aspect, the item that stood on top of the scale was guidance, followed by student activities, student administration, and service, respectively. 2) The comparison of the opinions about the student affairs management based on the Four Sublime States of Mind of the schools as mentioned, classified by position, education level, work experience, and school size, was found to show no statistically significant difference. 3) The suggestions and guidelines for the student affairs management based on the Four Sublime States of Mind of the so-said schools as suggested by the responses comprised the following: 1) More attention should be paid, and more loving-kindness should be extended, towards to students, in order to make classroom full of love and bliss. 2) Treatment with willingness and equality should be practiced. 3) Basic human rights should be taken into account in taking care of students. 4) The curricular and guidance courses should be designed to match with the age category of the learns.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คนกลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางการค้า ทางการเมืองมากกว่า ส่วนด้านจิตใจควรมีการส่งเสริมหลักพุทธปรัชญาเถรวาทให้เด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ดังนี้(1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง และ (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ เรียกว่า “PAU MODEL” ซึ่งได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปและข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่ง ด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตรวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และความฉลาดเฉียบแหลมในหนทางที่จะสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คนกลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางการค้า ทางการเมืองมากกว่า ส่วนด้านจิตใจควรมีการส่งเสริมหลักพุทธปรัชญาเถรวาทให้เด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ดังนี้(1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง และ (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ เรียกว่า “PAU MODEL” ซึ่งได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปและข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่ง ด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตรวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และความฉลาดเฉียบแหลมในหนทางที่จะสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน
The objectives of this Dissertation are: 1) to study the vision in National Strategies in Stability, Prosperity, and Sustainability, 2) to study Buddhist philosophy which promotes vision in national strategy, 3) to integrate the promotion of vision in national strategy with Theravăda Buddhist philosophy, and 4) to present new knowledge on “Promotion of vision in National strategy according to Theravăda Buddhist Philosophy”. The research is a qualitative research and the data were collected by in-depth interviews with 5 Buddhist scholars, 5 civil servants, 5 scholars of the National Strategic Plan, and 2 experts in 20 Years National Strategic Planning. The data were analyzed by content analysis and the results of synthesis contents were presented in descriptive method. The results showed that: 1) A vision in National Strategies was focused on promoting Physical stability, Prosperity and Sustainability for growth and development in Economics, Society and Politics more than mental development. Mental development should be promoted by Theravăda Buddhist philosophy. 2) The principles of Theravăda Buddhist philosophy to promote Stability, Prosperity and Sustainability of materials and mind are Sila, Samadhi and Panna. 3) Integration to promotion of vision in national strategy according to Theravăda Buddhist philosophy can be done as follows: (1) Stability is promoted by Precepts, (2) Prosperity is promoted by Attention, and (3) Sustainability is promoted by Understanding. 4) A new body of knowledge gained from this research is called “PAU MODEL”, which is (1) promotion Stability with Precept namely the foundation of virtue, common humanity, laws and regulations of society, (2) promotion Prosperity with Attention namely peace of mind enabling creative thinking and concentration to the goals set, and (3) promotion Sustainability with Understanding namely knowledge of lifestyle, and knowledge of transference of the world situation and geniuses in creating sustainable prosperity.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม)การจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม)การจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคล ตามหลักพรมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลตามหลักพรมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวการบริหารงานบุคคล ตามหลักพรมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 310 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และ F – test ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารงานบุคลตามหลักพรมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งว่าง รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัยตามหลักพรมวิหาร 4 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคลของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเรียงลำดับอัตรากำลังที่ขาดแคลนจากมากไปหาน้อยและจัดวางตัวบุคคลตามความถนัดความสามารถ (2) การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่หน้าที่ต้องเป็นไปตามคำสั่ง สพฐ. (3) เสริมสร้างกำลังใจและเยี่ยมชมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพของตนเอง (4) ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้อยู่ในระเบียบวินัยบนพื้นฐานของความเมตตาและไม่เสียหายต่อระบบราชการ (5) แจ้งเตือนการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบ ถ้าทำผิดอีกต้องดำเนินการตามระเบียบราชการ (6) แสดงมุฑิตาจิตเมื่อบุคลากรเกียณอายุราชการตามระเบียบ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคล ตามหลักพรมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลตามหลักพรมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวการบริหารงานบุคคล ตามหลักพรมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 310 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และ F – test ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารงานบุคลตามหลักพรมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งว่าง รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัยตามหลักพรมวิหาร 4 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคลของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเรียงลำดับอัตรากำลังที่ขาดแคลนจากมากไปหาน้อยและจัดวางตัวบุคคลตามความถนัดความสามารถ (2) การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่หน้าที่ต้องเป็นไปตามคำสั่ง สพฐ. (3) เสริมสร้างกำลังใจและเยี่ยมชมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพของตนเอง (4) ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้อยู่ในระเบียบวินัยบนพื้นฐานของความเมตตาและไม่เสียหายต่อระบบราชการ (5) แจ้งเตือนการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบ ถ้าทำผิดอีกต้องดำเนินการตามระเบียบราชการ (6) แสดงมุฑิตาจิตเมื่อบุคลากรเกียณอายุราชการตามระเบียบ
The objectives of the research were 1) to study personnel management based on the Four Sublime States of Mind (Brahmavihara) by school administrators under the Sisaket Primary Educational Service Area Office 2, 2) to compare the opinions about the personnel management based on the Four Sublime States of Mind by school administrators as mentioned, classified by age, education and working experiences, and 3) to find out the guidelines for personnel management based on the Four Sublime States of Mind by school administrators of the said schools. Samples were the administrators and teachers, totally 310 in number and 10 interviews. The instrument for collecting the data was the questionnaire, with its reliability value at 0.97 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested with t-test, and F-test (One-way ANOVA). The research results were as follows: 1) The personnel management based on the Four Sublime States of Mind by school administrators under the Sisaket Primary Educational Service Area Office 2 was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'Highest' level. The leading aspect was manpower planning and vacancy naming, followed by the promotion of efficiency in civil service. The aspect with the lowest mean was discipline and discipline observance based on the Four Sublime States of Mind. 2) The comparison was found that the respondents whose age, education level and work experience were different obtained different opinions, displaying statistically significant difference at the .05 level. 3) The guidelines for personnel management based on the Four Sublime States of Mind by school administrators as suggested by the responses were: (1) The School administrators should rank the vacancies based on their scarcity and adopt the theory of “put a right man in a right job or place a right job on a right man”. (2) The recruitment and appointment must be done in accordance with the OBEC order. (3) In order to enhance colleagues’ morale, the administrators should observe personnel's performances on site and provide the opportunities to develop their potentials. (4) There should be advices on how to behave in line with the disciplinary code, on the basis of loving-kindness but with no violation of the official rules and regulations . (5) In case there was any false conduct, a warning should be made, and in case of repeated wrong-doing, the punishment should be enforced according to government regulations. (6) Sympathetic joy (Mudita) should be expressed when colleagues performed their duties rightly according to the rules and regulations.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากร โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ t-test (Independent Samples) และแบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One - way ANOVA) และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการไว้วางใจ รองลงมา คือ ด้านการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ด้านความยึดมั่นผูกพัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3) สรุปแนวทางการมีส่วนร่วมด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 6 คน พบว่า (1) ควรไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นการง่ายที่บุคคลจะมีส่วนร่วมในการทำงาน ตั้งใจทำงานเพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย (2) ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานต้องมีความยึดมั่นผูกพันให้การสนับสนุนช่วยเหลือและฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ การกำหนดเป้าหมายของผู้บริหารมีส่วนกำหนดมาตรฐานในการทำงานและการประเมินประสิทธิภาพของระบบ (3) ควรให้ความเป็นอิสระในการทำงานไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอิสระในการจัดตารางในการทำงาน ความเป็นอิสระในการตัดสินใจในการทำงาน และความเป็นอิสระในการเลือกวิธีในการทำงาน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากร โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ t-test (Independent Samples) และแบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One - way ANOVA) และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการไว้วางใจ รองลงมา คือ ด้านการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ด้านความยึดมั่นผูกพัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3) สรุปแนวทางการมีส่วนร่วมด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 6 คน พบว่า (1) ควรไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นการง่ายที่บุคคลจะมีส่วนร่วมในการทำงาน ตั้งใจทำงานเพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย (2) ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานต้องมีความยึดมั่นผูกพันให้การสนับสนุนช่วยเหลือและฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ การกำหนดเป้าหมายของผู้บริหารมีส่วนกำหนดมาตรฐานในการทำงานและการประเมินประสิทธิภาพของระบบ (3) ควรให้ความเป็นอิสระในการทำงานไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอิสระในการจัดตารางในการทำงาน ความเป็นอิสระในการตัดสินใจในการทำงาน และความเป็นอิสระในการเลือกวิธีในการทำงาน
The objectives of this thesis were: 1) to study the participatory management on general administration of school administrators under the Special Education Bureau, Yasothon Province 2) to compare the participatory management on general administration of school administrators as mentioned classified by education and work experience and 3) to study guidelines for the participatory management on general administration of the so-said school administrators. The population used in this research consisted of teachers and personnel, totally 91 in number. The instrument used for data collection was a five scale rating questionnaire with content validity of 0.67-1.00, and reliability of 0.94, together with 6 constructed interviews. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test statistics (Independent Samples), F-test (One-way ANOVA). The result of the research can be summarized as follows: 1) The participatory management on general administration of school administrators under the Special Education Bureau, Yasothon Province was found, in an overall aspect, to stand at a ‘MUCH’ level. In an individual aspect, it was found that the item that stood on top of the scale was the issue of trust, followed by the setting of mutual goals and objectives, commitment and independence in job responsivities, respectively. 2) The comparison of the opinions about the participatory management on general administration of school administrators as mentioned, classified by educational level and work experience, was found to show no statistically significant difference. 3) The related guidelines as suggested by the 6 interviews comprised the following: (1) A trust in each other was suggested as necessary to accommodate the participation and dedication so as to achieve more efficient performance and the mutual goal. (2) The administrators should be committed to providing support, assistance and training to the colleagues with sincerity, in order to meet the performance standards and achieve the education quality and effective evaluation of performances. (3) There should be freedom, at some acceptable degree, in decision-making in the matters of doing job, setting work schedules and choosing how to work.
หนังสือ

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 95 คน และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานหารวิจัยด้วยค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคลตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุโดยรวมไม่แตกต่างกัน สำหรับรายด้านปรากฏว่า ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน ในทุกด้าน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน 3) ข้อเสนอแนะการการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 มีดังนี้ มีการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม บันทึกพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ คัดกรองตามความจริงเพื่อประสิทธิภาพในการคัดกรอง ส่งเสริมนักเรียนตามความต้องการและความสามารถของแต่ละคน มีการร่วมมือกับผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการสอดส่องดูแล และแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ในลักษณะองค์กรวิชาชีพ
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 95 คน และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานหารวิจัยด้วยค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคลตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุโดยรวมไม่แตกต่างกัน สำหรับรายด้านปรากฏว่า ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน ในทุกด้าน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน 3) ข้อเสนอแนะการการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 มีดังนี้ มีการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม บันทึกพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ คัดกรองตามความจริงเพื่อประสิทธิภาพในการคัดกรอง ส่งเสริมนักเรียนตามความต้องการและความสามารถของแต่ละคน มีการร่วมมือกับผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการสอดส่องดูแล และแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ในลักษณะองค์กรวิชาชีพ
The objectives of this research were: 1) to study the administration of the student care system by school administrators of the Phrathat Uppamung Group under the Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, 2) to compare the opinions about the administration of the student care system by the school administrators as mentioned, classified by age, work experience and educational level, and 3) to compile the recommendations as suggested by the responses. The samples consisted of administrators, teachers and educational personnel totally 95 in number. The instrument used for data collection was questionnaire with reliability at 0.98. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to test the hypothesis were t-test and F-test. The research results were as follows: 1) The administration of the student care system of the school administrators of the Phrathat Uppamung Group under the Roi Et Primary Educational Service Area Office 3was found, in an overall aspect, to be at a high level, but in an individual aspect, the item that was on top of the scale was prevention and problem solving, followed by referral, promotion, screening, and acquaintance with individual students, respectively. 2) The comparison of the opinions about the administration of the student care system by the school administrators in mention, showed variety in terms of outcomes as follows: Classified by age, it was found, in an overall aspect, to show no difference, where as in an individual aspect, it showed statistically significant difference at .05 in the aspects of screening and prevention and problem solving. Classified by work experience, it was found in both overall and individual aspects to show no difference in all aspects. Classified by educational level, it came out with overall statistically significant difference at the .05 level in all aspects. 3) The compilation of the related recommendations suggested by the responses comprised the following: 1) There should be observation, interview, inquiry and recording of individual students' behaviors, especially those of the students who needed help. 2) The screening process should be based on the real information acquired for the sake of its reliability. 3) Students should be motivated and encouraged so that they could meet their individual needs and abilities. 4) The closer cooperation with parents and all parties involved in the issues of surveillance and problem solving should be done in the manner of a professional organization.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร ๆ ละ 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของโรงเรียนเนินสง่าวิทยา จังหวัดชัยภูมิ มีครูเป็นผู้ร่วมวิจัย 13 คน และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 191 คนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ผลการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง คือ จากการเปรียบเทียบ 3 ระยะ คือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีการกระทำเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับ และนักเรียนมีทักษะภาวะผู้นำที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับเช่นกัน ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษาก็เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่า การพัฒนาใด ๆ ที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมหรือหลักการประชาธิปไตยจะทำให้ผลการพัฒนามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น รวมทั้งได้องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีฐานรากจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ เรียกว่า “โมเดลต้นแบบสำหรับการเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำของนักเรียน : บทเรียนความสำเร็จที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนเนินสง่าวิทยา”
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร ๆ ละ 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของโรงเรียนเนินสง่าวิทยา จังหวัดชัยภูมิ มีครูเป็นผู้ร่วมวิจัย 13 คน และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 191 คนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ผลการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง คือ จากการเปรียบเทียบ 3 ระยะ คือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีการกระทำเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับ และนักเรียนมีทักษะภาวะผู้นำที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับเช่นกัน ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษาก็เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่า การพัฒนาใด ๆ ที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมหรือหลักการประชาธิปไตยจะทำให้ผลการพัฒนามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น รวมทั้งได้องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีฐานรากจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ เรียกว่า “โมเดลต้นแบบสำหรับการเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำของนักเรียน : บทเรียนความสำเร็จที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนเนินสง่าวิทยา”
This study aimed at helping students to improve their leadership skills by utilizing the methodology of Participatory Action Research in which two cycles of research (one cycle per semester) were conducted during the Academic Year of 2021. The three anticipated developmental outcomes of change, learning, and knowledge were gained through the practices, which were administered in the particular setting of the Noensangawittaya School in Chaiyaphum Province. The target group for development consisted of 191 high school students, and 13 teachers served as the study’s co-investigators. The findings revealed the changes that had been anticipated. In accordance with the comparative analysis of the three phases (before and after the first cycle of practices and after the second cycle), it was discovered that in order to improve the students' leadership skills, the co-researchers had continued to increase their activities since beginning the first phase. In a similar vein, there had been advancements in the leadership skills of the students. Together, the research team, the co-researchers, and the school discovered that any form of development, which prioritizes democratic or participatory principles, will produce better results. Additionally, a grounded theory known as the "Model for Developing Students' Leadership Skills: The Success of Lessons Learned through Participatory Action Research at Noensangawittaya School" was developed from the practices, which had been employed in this research.