วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและประโยชน์ของเภสัชในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการใช้เภสัชในพระไตรปิฎก และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าเภสัชในพระไตรปิฎกต่อสังคมปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำราวิชาการ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเภสัชในพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า: 1)ความหมายและประโยชน์ของเภสัชสรุปว่า เภสัชหมายถึงยาสมุนไพรที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุจากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นเภสัชรักษาโรคต่างๆและบำรุงร่างกายได้ ส่วนประโยชน์ของเภสัชนอกจากจะใช้เป็นเภสัชแล้วยังใช้เป็นอาหาร ใช้เป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่นแต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลง เภสัชสมุนไพรส่วนใหญ่จะมีประโยชน์มากกว่ามีโทษหรือถ้ามีก็มีน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน 2) เภสัชที่ปรากฏในพระไตรปิฎกสรุปว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นำสมุนไพรและพืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทำเป็นเภสัชเพื่อรักษาสุขภาพ พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตเภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และพระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตเภสัชที่ประกอบด้วยพืชต่างๆเช่น รากไม้ ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ น้ำฝาด เกลือ มูลโค ดิน ควัน น้ำมันเหลวที่ได้จากสัตว์ เนื้อดิบ เลือดสด มูตร คูถ สัตว์ แร่ธาตุ มาทำเป็นเภสัช มีทั้งใช้รับประทาน ใช้ทา ใช้นัตถุ์หรือสูดดมควัน และใช้หยอดเข้าทางจมูก 3) วิเคราะห์คุณค่าของเภสัชในสังคมปัจจุบันพบว่า สามารถรักษาโรคได้หลายชนิดและกระทรวงสาธารณสุขมีการร่างเป็นนโยบายไว้เป็นแผนพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขในระดับต่างๆรวมถึงหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยมีความรู้เรื่องสมุนไพรให้เข้าใจถึงประโยชน์และคุณค่าของสมุนไพรต่างๆที่จะนำไปใช้ในการรักษาโรคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยในสังคมปัจจุบันต่อไป
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและประโยชน์ของเภสัชในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการใช้เภสัชในพระไตรปิฎก และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าเภสัชในพระไตรปิฎกต่อสังคมปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำราวิชาการ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเภสัชในพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า: 1)ความหมายและประโยชน์ของเภสัชสรุปว่า เภสัชหมายถึงยาสมุนไพรที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุจากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นเภสัชรักษาโรคต่างๆและบำรุงร่างกายได้ ส่วนประโยชน์ของเภสัชนอกจากจะใช้เป็นเภสัชแล้วยังใช้เป็นอาหาร ใช้เป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่นแต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลง เภสัชสมุนไพรส่วนใหญ่จะมีประโยชน์มากกว่ามีโทษหรือถ้ามีก็มีน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน 2) เภสัชที่ปรากฏในพระไตรปิฎกสรุปว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นำสมุนไพรและพืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทำเป็นเภสัชเพื่อรักษาสุขภาพ พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตเภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และพระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตเภสัชที่ประกอบด้วยพืชต่างๆเช่น รากไม้ ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ น้ำฝาด เกลือ มูลโค ดิน ควัน น้ำมันเหลวที่ได้จากสัตว์ เนื้อดิบ เลือดสด มูตร คูถ สัตว์ แร่ธาตุ มาทำเป็นเภสัช มีทั้งใช้รับประทาน ใช้ทา ใช้นัตถุ์หรือสูดดมควัน และใช้หยอดเข้าทางจมูก 3) วิเคราะห์คุณค่าของเภสัชในสังคมปัจจุบันพบว่า สามารถรักษาโรคได้หลายชนิดและกระทรวงสาธารณสุขมีการร่างเป็นนโยบายไว้เป็นแผนพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขในระดับต่างๆรวมถึงหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยมีความรู้เรื่องสมุนไพรให้เข้าใจถึงประโยชน์และคุณค่าของสมุนไพรต่างๆที่จะนำไปใช้ในการรักษาโรคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยในสังคมปัจจุบันต่อไป
This thesis has the objectives as follows; 1) to study the meaning and benefits of current medicine, 2) to study the use of medicine in the Tipitaka, and 3) to analyze the medical value of Tipitaka to the present society. The research is a qualitative research focusing on document research by studying and searching information from books, textbooks, academic reports, theses and thematic studies on matters relating to medicine in the Tri-pitaka. The results of research were found that: 1) the meaning and benefits of the medicine concludes that medicine refers to herbal medicine derives from plants, animals, minerals and from natures that does not change internal structural conditions. It can be used as a medicine to treat various diseases and to nourish the body. As for the benefits of medicine, aside from being used as a medicine, it is also used as food, a drink, a supplement and a component in cosmetics, to flavor and color food and medicine and as insecticide. Most herbal medicine is more useful than harmful or if there is any harm, it is less than that of modern medicine. 2) The medicine that appears in the Tipitaka concludes that the Lord Buddha allows the use of herbs and herbal plants that are naturally made into medicines to maintain health. The Lord Buddha allowed 5 medicines; ghee, condensed butter, oil,honey and molasses. The Lord Buddha also allows the medicine to consist of various plants such as roots, leaves, fruits, rubber, astringent water, salt, cow dung, smoke, liquid oil obtained from raw animal flesh, fresh blood, urine, phlegm, animals and minerals to make a medicine which is both used to eat and apply, to snuff or inhale smoke and to drop through the nose. 3) On analyzing the value of medicine in today's society, it is found that it can treat many types of diseases and the Ministry of Public Health has drafted a policy as a basic health development plan for health personnel at different levels including folk doctors and traditional Thai doctors with knowledge of herbs to understand the benefits and values of various herbs that will be used in the treatment of diseases correctly and safely in today's society